ผลการดําเนินงาน
รายได้จากการลงทุนสุทธิจํานวน 16,406 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,841 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 ในปี 2562 บริษัทฯได้กําไรจากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 520 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 65 ล้านบาท และกําไรจากการปรับมูลค่าหลักทรัพย์ 307 ล้านบาท ขณะที่ปี 2561 มีขาดทุนจากการปรับมูลค่าหลักทรัพย์ 188 ล้านบาท สําหรับเงินจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยในปี 2562 ก่อนรับคืนจากประกันภัยต่อ มีจํานวน 50,931 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 5,434 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12 สามารถแยกตามประเภทการจ่าย โดยแบ่งเป็น เงินสินไหมมรณกรรม 6,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 451 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7 เงินสินไหมมรณกรรมอุบัติเหตุ 314 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 83 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36 เงินค่ารักษาพยาบาล 1,011ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 41 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 เงินทดแทนทุพพลภาพ 570 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 จํานวน 87 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 เงินครบกําหนดสัญญา 17,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 3,430 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25 เงินครบทุกระยะ 9,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 273 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3 เงินปันผลและดอกเบี้ยเงินปันผล 395 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 จํานวน 4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1 เงินเวนคืน 9,593 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 1,182 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14 และอื่นๆ อีกจํานวน 5,754 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 จํานวน 65 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1
ฐานะทางการเงิน
บริษัทฯ มีเสถียรภาพและมีศักยภาพทางการเงิน โดยปี 2562 มีสินทรัพย์จํานวน 457,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 40,630 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 และมีเงินสํารองประกันชีวิต 344,590 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 28,581 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 9
การลงทุน
ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 สามารถขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในปี 2561 เป็นการขยายตัวที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์และต่ำสุดในรอบ 5 ปี (ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) วันที่ 17 ก.พ. 2563) เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าของประเทศคู่ค้าที่สําคัญ การแข็งค่าของเงินบาท ทําให้มูลค่าการส่งออกสินค้าปรับตัวลดลง และภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง แต่อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคประชาชนมีการขยายตัวเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นจากภาครัฐ เช่น มาตรการชิมช้อปใช้ มาตรการช่วยเหลือรายได้เกษตรกรอีกทั้งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งช่วยสนันสนุนการลงทุนภาคเอกชน SET Index มีกรอบการเคลื่อนไหวในช่วง 1,548.65 - 1,740.91 จุดในปี 2562 โดยในปี 2562 เปิดตลาดที่ 1,563.88 จุด ซึ่งในช่วงต้นปีตลาดหุ้นไทยมีการผันผวน ก่อนจะปรับขึ้นถึงจุดสูงสุดของปีในช่วงกลางปี เนื่องจากความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลไทยต่อมาในช่วงครึ่งปีหลัง ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตั ว เศรษฐกิ จไทยจึ งมีแนวโน้มฟื้ นตั วได้ อย่างช้าๆแต่อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจไทยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกของสินค้าเกษตรบางประเภท การท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ จึงทําให้ ณ สิ้นปี 2562 ปิดตลาดอยู่ที่ 1,579.84 จุดเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 1.02 ณ 31 ธันวาคม 2562 บริษัทฯ มีสินทรัพย์ลงทุนทั้งสิ้น439,953 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จํานวน 41,665 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 10 ทั้งนี้ สามารถจําแนกสินทรัพย์ลงทุนตามประเภทประกอบด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงิน/ ตั๋วแลกเงิน 29,188 ล้านบาท ลดลง 2,211 ล้านบาท พันธบัตร 189,992 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,430 ล้านบาท เงินฝากธนาคารประเภทมีดอกเบี้ยและบัตรเงินฝาก 7,532 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 509 ล้านบาท เงินให้กู้ยืมโดยมีทรัพย์สินจํานองเป็นประกัน และเงินกู้พนักงาน 28 ล้านบาท ลดลง 3 ล้านบาท เงินให้กู้ยืมโดยมีกรมธรรม์ประกันภัยเป็นประกัน 26,762 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 651 ล้านบาท หุ้นทุนและใบสําคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้นสามัญ 25,190 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,959 ล้านบาท หุ้นกู้ 130,340 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26,147 ล้านบาท หน่วยลงทุน 28,894 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,196 ล้านบาท เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ 2 ล้านบาท ลดลง 5 ล้านบาท และตราสารอนุพันธ์ 2,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,993 ล้านบาท